Skip to content

Programming and motivation

บทความนี้เดิมทีเขียนไว้บนเฟสบุ๊คเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2017 ย้ายมาที่เว็บนี้เพราะเฟสบุ๊คปิดตัวระบบโน้ตไปแล้ว

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีการแชร์เรื่องปัญหา ‘วิกฤติโปรแกรมเมอร์ขาดตลาด’ เต็มเฟสบุ๊ก คนที่จบสายคอมพิวเตอร์ส่วนมากไม่อยากเขียนโค้ด เกลียดการเขียนโปรแกรม ฯลฯ ผมเชื่อว่าคำตอบอยู่ที่ “แรงจูงใจ” (motivation) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีกำลังในการก้าวข้ามปัญหาต่าง ไม่นานมานี้ผมก็ได้ลองทดสอบแนวคิดนี้ซะที

หลังจากคบกันมาเกือบสี่ปี ผมกับแฟนเก่าก็ตกลงกันว่าเป็นแค่เพื่อนกันดีกว่า เราเลยเลิกเป็นแฟนกันด้วยดี เรายังติดต่อกันและเจอกันเป็นครั้งคราว เวลาเพื่อนรู้ว่าผมไปเจอเธอผมก็มักจะโดนแซว และโดนถามว่าจะรีเทิร์นไหม ซึ่งผมก็ตอบแบบเดิมตลอดว่า return false

ปกติเวลาเจอกัน ผมก็มักจะชวนคุยเรื่องการเขียนโปรแกรม และชีวิตของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (ก็คุยเรื่องอื่นไม่เป็น) ผมเล่าให้เธอฟังถึงเรื่องวิกฤตโปรแกรมเมอร์ และแนวคิดของแรงจูงใจ

ผมเล่าให้ฟังว่าเคยได้รับเชิญไปประชุมเกี่ยวกับหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ในที่ประชุมผมก็พูดถึงเรื่องนี้นี่แหละ ผมบอกว่า “อยากเห็นนิสิตเรียนจบเทอมแรกแล้วสามารถเขียนแอปง่าย ไว้ใช้เองได้” จะได้มีของไว้อวดเพื่อน อวดให้พ่อแม่ดู แต่ดูเหมือนว่าที่ประชุมจะให้ความสนใจกับว่าจะเอาวิชาไหนไว้เทอมไหนกันมากกว่า

สมัยที่ผมหัดเขียนโค้ด ผมใช้โปรแกรมง่าย เช่น Visual Basic ลาก วาง พิมพ์โค้ดสามสี่บรรทัด ก็ได้โปรแกรมง่าย เอาไปโชว์ให้พ่อแม่ดูแล้วว่าเขียนโปรแกรมได้


พอเห็นบรรยาศที่นิสิตเรียนเขียนโปรแกรมกันก็รู้สึกเศร้าขึ้นมา นี่มันอะไร เทอมแรกทั้งเทอมทำได้แค่เขียนโปรแกรมในคอนโซลดำ… วัน ทำแต่ Console.ReadLine() กับ Console.WriteLine() เป็นอะไรที่ดูจับต้องไม่ได้เลย… แถมทั้งยาก และน่าเบื่ออีกต่างหาก ถ้าจบวิชานี้แล้วจะเกลียดโปรแกรมมิ่งก็คงไม่แปลก

ผมเคยคิดเล่น ว่าอยากลองจัดกิจกรรมสำหรับน้องที่เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัย แทนที่จะมานั่งหัวระเบิดกับ for-loop หรือ recursion (ซึ่งหลัง ผมมองว่าการทำแบบนี้เป็นการบั่นทอนกำลังใจอย่างยิ่ง) ให้มาลองสร้างโปรแกรมง่าย กันแทน จะได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นพ่อมดแม่มดเสกโค้ดได้ เหมือนที่ผมรู้สึกมาตลอด

ดราม่ายาวละ กลับเข้าเรื่องดีกว่า


ปีนี้เธอเล่าให้ผมฟังถึงเรื่องที่เธอกำลังชอบคนคนนึงอยู่… แล้ววันหนึ่งเธอก็โทรมา บอกว่าอยากลองเขียนโปรแกรมดู อยากลองทำของขวัญวันวาเลนไทน์ให้เขาคนนั้น จึงอยากให้ผมสอนให้ เธอถามว่า “ถ้าเราอยากสร้าง URL ขึ้นมาอันนึง แล้วพอส่งให้เขา ก็จะขึ้นข้อความต่าง ที่เราเขียนให้ มันทำยากไหม”

ในที่สุดผมก็จะได้ลองสอนเขียนโปรแกรมเบื้องต้นซะที ผมตอบตกลงทันที พร้อมบอกให้เธอโหลดโปรแกรม Atom และ Google Chrome และให้คิดด้วยว่าจะอยากจะบอกอะไรเขาบ้าง

เธอเรียนอยู่คณะเศรษฐศาสตร์ แทบไม่มีประสบการณ์เรื่องการเขียนโค้ดเลย นอกจากที่เคยเรียนในช่วงมัธยมต้น เธอโทรมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ นั้นหมายความว่าผมมีเวลาประมาณ 3 วันที่จะสอนให้เธอเขียนเว็บได้… น่าตื่นเต้นดีนะ

วันแรก

วันแรก ผมสอนให้ลองเขียนเว็บแบบง่าย เริ่มจากเปิด Atom แล้วสร้างไฟล์ index.html

html
<h1>Happy Valentine's Day</h1>

ผมให้เธอลองเปลี่ยนจาก h1 เป็น h2
แล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
ให้ลองสร้างแท็ก p ลองใส่เนื้อหาง่าย ดู

html
<h2>Happy Valentine's Day</h2>
<p>Thanks for the gifts</p>

ผมให้เธอลองเปลี่ยนสีหน้าเว็บดู
ผมสอนให้ใช้ Inline style นี่แหละ เพราะมันง่ายกว่า

html
<body style="background:black;color:white">
<h2 style="color:yellow">Happy Valentine's Day</h2>
<p>Thanks for the gifts</p>

ผมเริ่มเกริ่นถึงภาษา CSS
ว่าตอนนี้เธอเริ่มเขียนภาษา CSS ได้แล้ว
ตอนที่พิมพ์คำสั่งใน style="..." นี่แหละ
ตอนนี้คือกำลังเขียนภาษา CSS อยู่

ผมอธิบายว่าเวลาทำเว็บกันจริง
เขาไม่ทำแบบนี้กัน (ไม่ใช้ Inline style)
แต่จะแยกโค้ดเป็นไฟล์ภาษา HTML, CSS, JavaScript ให้เรียบร้อย

ผมโชว์โค้ดตัวอย่างของเว็บไซต์อื่น ให้ดู
ผมให้เธอลองเล่นกับ Developer Tools ใน Chrome
เมื่อเธอสงสัยอะไร ผมก็บอกให้ลอง Inspect ดู
ผมสอนเธอสร้างโปรเจกต์ใน Firebase Hosting

cmd
C:\Users\USER> cd Desktop
C:\Users\USER\Desktop> cd Programming
C:\Users\USER\Desktop\Programming> npm install -g firebase-cli
C:\Users\USER\Desktop\Programming> firebase login
C:\Users\USER\Desktop\Programming> firebase init
C:\Users\USER\Desktop\Programming> firebase deploy

แล้วหน้าเว็บนั้นก็ขึ้นไปอยู่บนโลกของอินเทอร์เน็ต

ผมให้เธอลองแก้โค้ด
แล้วลอง Deploy ขึ้นไปใหม่
ทำซ้ำหลาย ครั้งจะได้จำได้

แล้วผมก็ให้การบ้าน — ให้ลองเข้า W3Schools และให้ไปลองอ่านเกี่ยวกับ HTML และ CSS แบบผ่าน ดู และที่สำคัญ ให้ออกแบบมาด้วยว่าอยากจะให้มีเนื้อหาอะไรในหน้าเว็บนั้นบ้าง

วันที่สอง

วันที่สอง เธอมาพร้อมกับสมุดโน้ต
เธออธิบายให้ฟังว่าเธอต้องการทำเว็บให้เป็นหน้า
บางหน้าต้องใส่รหัสผ่านให้ถูก
บางหน้าต้องตอบคำถามให้ถูก
บางหน้ามีข้อความ แล้วก็มีปุ่ม Next ให้กด
บางหน้าก็มีรูป

ผมจึงให้เธอลองแบ่ง Section เป็นหน้าต่าง แล้วก็ใส่เนื้อหาไปให้หมดก่อน ยังไม่ต้องคิดถึงเรื่องการตอบโต้ การเช็ครหัสผ่าน ปุ่ม Next หรืออะไรทั้งนั้น ทำให้เนื้อหาทั้งหมดที่ต้องการสื่อปรากฏบนจอให้ได้ก่อนดีกว่า อย่างน้อยถ้าทำไม่ทัน ก็ยังสื่อความได้ครบถ้วน

html
<section style="margin-top:200px;text-align:center">
  <p>รหัสผ่าน: <input type="text"></p>
</section>
<section style="margin-top:200px;text-align:center">
  <p><strong>นี่คุณจริงรึเปล่านะ</strong></p>
  <p>ถ้าใช่ก็ต้องตอบคำถามนี้ได้</p>
  <p>a) คำตอบที่ 1<br>b) คำตอบที่ 2<br>c) คำตอบที่ 3<br>d) คำตอบที่ 4</p>
</section>
<section style="margin-top:200px;text-align:center">
  <p><strong>คุณจริงๆ ด้วย!</strong></p>
  <p style="text-align:right">next</p>
</section>
<section style="margin-top:200px;text-align:center">
  <p>เราเพิ่งหัดเขียนโค้ด ก็เลยอยากเขียนโปรแกรมแรกให้แหละ</p>
  <p style="text-align:right">next</p>
</section>
<section style="margin-top:200px;text-align:center">
  <p>จำได้ไหมตอนนั้นที่เรา…

ผมบอกว่า style มันซ้ำกันมาก
พร้อมสอนให้เธอเขียน CSS ในแท็ก <style>
และสอนถึงโครงสร้างของ HTML ที่ถูกต้อง

html
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>
<style>
.page { margin-top: 200px; text-align: center; }
</style>
</head>
<body>

...

<section class="page">
...

ผมอธิบายถึงการใช้ <!DOCTYPE html> ว่า

สมัยก่อนภาษา HTML ยังใหม่ อยู่ มาตรฐานจึงยังไม่ครอบคลุม เบราว์เซอร์ต่าง ก็แข่งกันพัฒนาใส่ความสามารถต่าง ที่นอกเหนือจากมาตรฐานของภาษา HTML ยุคแรก เข้าไป แต่ละเบราว์เซอร์จึงตีความโค้ด HTML กันไปคนละแบบ ในช่วงต่อมาได้มีการทำให้เป็นมาตรฐานขึ้น แต่ปัญหาคือเว็บเก่า กลับใช้งานไม่ได้ เพราะถูกเขียนขึ้นในสมัยที่ยังไม่เป็นมาตรฐาน จึงเกิดเป็นโค้ด <!DOCTYPE html> เพื่อระบุว่าหน้าเว็บนี้อิงจากมาตรฐาน HTML

เธอนั่งใส่ข้อความต่อไป บางจุดเธอก็อยากจะจัดรูปแบบให้สวยงาม แต่ผมก็แนะนำให้ใส่เนื้อความที่อยากจะสื่อให้หมดก่อน แล้วค่อยเก็บรายละเอียดทีหลัง

“Done is better than perfect”

ผมอ่านเนื้อความไปก็ฟินไป
ในขณะเดียวกันเธอก็พิมพ์ไปยิ้มไป
ด้วยความดีใจที่เห็นข้อความปรากฏบนหน้าจอ
และแล้วเธอก็เขียนเนื้อความที่อยากจะสื่อจนครบ

“เอาล่ะ เดี๋ยวเราจะทำให้โชว์ทีละหน้ากัน” ผมให้เธอสร้างคลาสไว้ซ่อนเนื้อหา

css
.hide { display: none; }

พร้อมทั้งให้ซ่อนหน้าที่เหลือออกให้หมด และใส่ ID ให้แต่ละหน้า

html
<section id="page1" class="page">
  <p>Password: ...</p>
</section>
<section id="page2" class="page hide">...</section>
<section id="page3" class="page hide">...</section>
<section id="page4" class="page hide">...</section>
<section id="page5" class="page hide">...</section>

คราวนี้ผมก็สอนให้ใช้ JavaScript Console เริ่มจากให้ลองใช้เป็นเครื่องคิดเลขเล่น ดูก่อน

js
> 1 + 1
  // => 2

ให้ลองใช้คำสั่งพื้นฐานเช่น alert('Hello') และสอนเขียนฟังก์ชันง่าย

js
> function greeting (name) {
    alert('Hello, ' + name + '!')
  }
  // => undefined

> greeting(name)

ให้ลองเรียกของที่อยู่บนหน้าเว็บออกมา

js
> document.getElementById('page2')
  // => <section id="page2" class="page hide">...</section>

ให้ลองสร้างตัวแปร

js
> var page2 = document.getElementById('page2')
  // => undefined
> page2
  // => <section id="page2" class="page hide">...</section>

ให้ลองเพิ่มคลาส

js
> page2.classList.remove('hide')

ทันทีที่กดปุ่ม Enter หน้าสองก็โผล่มา

ผมอธิบายถึงคอนเซปต์อ็อบเจกต์เบื้องต้น ว่าเครื่องหมาย . ก็เหมือน の ในภาษาญี่ปุ่น ทีนี้เราก็รู้แล้วว่าจะโชว์ของหรือซ่อนของยังไง หน้าแรกเป็นหน้าใส่ Password ผมเลยสอนสร้างฟังก์ชันง่าย

html
<script>
function onPasswordCorrect () {
  document.getElementById('page1').classList.add('hide')
  document.getElementById('page2').classList.remove('hide')
}
</script>

แล้วก็ให้ลองเรียกจากใน JavaScript Console

js
> onPasswordCorrect()

พอกดปุ่ม Enter หน้าแรกก็เปลี่ยนเป็นหน้าสอง

หลังจากนั้นก็สอนผูกฟังก์ชันกับของที่อยู่บนหน้าเว็บ เริ่มจากใส่ id ให้กล่องรหัสผ่าน

html
  <p>Password: <input type="text" id="password"></p>

แล้วก็สร้างฟังก์ชันเพื่อเชื่อมกับกล่องรหัสผ่านนั้น

html
<script>
var password = document.getElementById('password')
password.onkeydown = onTypePassword

function onTypePassword (e) {
  console.log(e)
}
</script>

ผมอธิบายถึงคอนเซปต์ของอ็อบเจกต์ต่อ ว่ามันเหมือนรวมข้อมูลหลาย อย่างเข้าด้วยกัน ซึ่งเราสามารถเรียกข้อมูลในนั้นออกมาได้เช่น e.key หรือ password.value หลังจากนั้นผมก็สอนใช้ if และทำให้เช็ครหัสผ่านได้

html
<script>
var password = document.getElementById('password')
password.onkeydown = onTypePassword

function onTypePassword (e) {
  if (e.key === 'Enter') {
    if (password.value === '0890123456') {
      onPasswordCorrect()
    } else {
      alert('Incorrect password')
    }
  }
}

function onPasswordCorrect () { /* ... */ }
</script>

เมื่อรหัสผ่านผิด เธออยากให้โชว์ Password hint ด้วยก็จัดไป

js
// ...
    } else {
      alert('Incorrect password')
      document.getElementById('passwordHint').classList.remove('hide')
    }
// ...
html
  <p id="passwordHint" class="hide" style="font-size:70%">
    คำใบ้: จำได้ไหมเราจับมือกันครั้งแรกวันไหน
  </p>

ผมให้เธอเชื่อมหน้าที่เหลือเข้าด้วยกันเป็นการบ้าน

วันที่สาม

เธอกลับมาพร้อมโค้ดแบบนี้

js
function answerIncorrect () {
  alert('Incorrect answer... try again')
}

// page 9
document.getElementById('question9answer1').onclick = answerIncorrect
document.getElementById('question9answer2').onclick = answerIncorrect
document.getElementById('question9answer3').onclick = answerCorrect9
document.getElementById('question9answer4').onclick = answerIncorrect
function answerCorrect9 () {
  alert('Correct answer!')
  document.getElementById('page9').classList.add('hide')
  document.getElementById('page10').classList.remove('hide')
}

// page 10
document.getElementById('next10').onclick = nextPage10
function nextPage10 () {
  document.getElementById('page10').classList.add('hide')
  document.getElementById('page11').classList.remove('hide')
}

// page 11
document.getElementById('next11').onclick = nextPage11
function nextPage11 () {
  document.getElementById('page11').classList.add('hide')
  document.getElementById('page12').classList.remove('hide')
}

// page 12
document.getElementById('next12').onclick = nextPage12
function nextPage12 () {
  document.getElementById('page12').classList.add('hide')
  document.getElementById('page13').classList.remove('hide')
}

ของขวัญวาเลนไทน์ของเธอมีประมาณ 30 หน้า นั่นคือโค้ดร้อยกว่าบรรทัด

ผมอธิบายให้เธอฟังว่านี่เรียกว่าโค้ดถึก

สำหรับคนที่เพิ่งหัดเขียนโปรแกรม การเขียนโค้ดถึก แบบนี้อาจจะดี เพราะมันสอนให้เราช่างสังเกต และได้ฝึกเขียนโค้ดจำนวนมาก จะได้คุ้นชินกับภาษานั้น

แต่คนที่เขียนโปรแกรมเป็น เขาจะไม่ทนกับโค้ดถึก แบบนี้ นอกจากจะต้องเขียนซ้ำ หลาย รอบ หากพิมพ์ผิดสักจุด ลืมแก้ตัวเลขให้ถูกต้อง โปรแกรมก็พังอีก คนที่เขียนโปรแกรมเป็นพอเริ่มรู้สึกถึงความถึก เขาจะแก้โค้ดให้ไม่ถึก

เช่น แทนที่จะเขียนหลาย ฟังก์ชันซ้ำ ก็สร้างฟังก์ชันเดียวที่ใช้ได้กับทุก หน้า เช่นแบบนี้

js
function nextPage () {
  var pages = document.querySelectorAll('.page')
  for (var i = 0; i < pages.length; i++) {
    if (!pages[i].classList.has('hide')) {
      pages[i].classList.add('hide')
      pages[i + 1].classList.remove('hide')
      return
    }
  }
}

มีหลาย ท่าที่ผมไม่ได้สอนเต็มไปหมด \

ผมว่า…
โปรแกรมเมอร์ก็เหมือนพ่อมด
โค้ดก็เหมือนคาถา
จะเขียนโค้ดให้เก่งขึ้น
ก็ต้องฝึกท่าขั้นสูงกันต่อไป

ผมโชว์โค้ดต่าง ที่ผมเคยเขียน
ผมโชว์งานที่ผมทำ
ผมโชว์โปรเจกต์ที่มีโค้ดนับพันไฟล์
ผมอธิบายว่าทำไมเราต้องเขียนโค้ดให้คนอื่นอ่านรู้เรื่อง
และโชว์ตัวอย่างของการทำ Automated testing


สุดท้ายเธอก็ทำของขวัญชิ้นนั้นจนเสร็จ

Pareto principle (กฏ 80-20) ใช้กับการสอนเขียนโปรแกรมได้จริง เธอยังรู้จักไม่ถึง 10% ของ JavaScript ด้วยซ้ำ ไม่รู้จักเรื่องลูปหรืออาเรย์เลย มีแค่…

  • การประกาศตัวแปร var
  • การสร้าง function
  • การใช้ document.getElementById
  • การใช้ classList
  • การใช้ onkeydown และ onclick
  • การใช้ if

แต่เท่านี้ก็พอเขียนโปรแกรมง่าย ได้แล้ว

วันวาเลนไทน์

เธอส่งข้อความมาเล่าให้ผมฟังว่าเธอส่งลิงก์ให้เขาไปแล้ว “เขาชอบมาก เลย”

ผมดีใจที่เธอทำสำเร็จ และยิ่งไปกว่านั้น ผมดีใจที่ผมทำให้เธอรู้สึกดีเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมได้ อย่างน้อยก็ช่วงเริ่มต้นนี่แหละ ก็รอดูต่อไปว่าจะในอนาคตจะเป็นยังไงต่อไป จะได้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างที่ตั้งใจไว้ไหม

หลังจากนั้น

ก็เลยเกิดไอเดีย ว่าน่าลองเอาเรื่องนี้มาเขียนเป็นบทความดู จริง ก็เคยมีไอเดียเล่น ว่าถ้าเขียนนิยายหรือเรื่องสั้นเกี่ยวกับความรัก แต่เนื้อหาเต็มไปด้วยโค้ดคอมพิวเตอร์ ก็น่าจะเป็นแนวการเขียนที่แปลก ดี อาจจะเวิร์คก็ได้

ล่าสุดที่ผ่านมา เธอติดปัญหาเกี่ยวกับ Thesis ของเธอ เธอบอกว่าข้อมูลในประเทศต่าง ยังไม่พอที่จะมาทำเป็นงานวิจัย จึงไม่สามารถทำต่อได้

อีกทั้งการทำงานวิจัยเปรียบเทียบปัญหาสังคมในประเทศต่าง ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาสังคมนั้นตรง ได้เท่าไหร่ ก็เลยเกิดไอเดียว่าจะทำแอปพลิเคชั่นที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ จะเป็นอย่างไรก็ดูต่อไป

เวลาที่ผมเล่าเรื่องนี้ให้คนรู้จักฟังก็มีแต่คนถามว่า มันไม่เศร้าหรอ?

…ก็ไม่นะ…
ถ้าเกิดเราไม่สามารถมีความสุขเมื่อเขามีความสุขกับคนอื่นได้
ผมก็คงไม่เรียกมันว่าความรัก

Happy White Day ครับบ~

Special thanks: Minaa Kittikunsiri